ก.ล.ต.ผนึก IOD ส่งเสริมสตรีทำหน้าที่กรรมการ บจ. เพิ่มบทบาทสตรีในตลาดทุนไทย
- by admin
ก.ล.ต. สนับสนุน IOD เดินหน้าโครงการส่งเสริมสตรีให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นกรรมการ ประจำปี 65 สอดรับกับการขับเคลื่อนตามแผนดำเนินการเพื่อเพิ่มบทบาทสตรีในตลาดทุนไทยของ ก.ล.ต. และเพื่อตอบโจทย์นำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
โครงการส่งเสริมสตรีให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นกรรมการ ประจำปี 2565 จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้สตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ได้รับโอกาสในการเข้าอบรมหลักสูตรพื้นฐานสำหรับกรรมการ Director Certification Program (DCP) ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำหน้าที่กรรมการ
โดยผู้ที่ผ่านหลักสูตร DCP จะมีรายชื่อในฐานข้อมูลกรรมการ (Director Pool) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการสรรหากรรมการที่มีคุณภาพและมีทักษะที่เหมาะสม จึงเป็นการเปิดโอกาสแก่สตรีในระดับกรรมการและผู้นำขององค์กรมากขึ้น อีกทั้งยังสอดรับกับแนวทางในระดับสากลที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีความหลากหลาย
รวมถึงด้านความหลากหลายทางเพศ (Gender Diversity) สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2565 – 2567 ของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ด้านการยกระดับศักยภาพของตลาดทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Capital Market) ในการสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนให้ผนวกปัจจัยธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศเข้าไปในกระบวนการประกอบธุรกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 5 เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า พันธกิจของ ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล
และพัฒนาตลาดทุนให้มีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และสังคมทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้นั้น การสร้างระบบนิเวศของตลาดทุนอย่างยั่งยืนที่สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนสามารถประกอบธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ
ดังนั้น ก.ล.ต. จึงยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนโครงการส่งเสริมสตรีให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นกรรมการของ IOD ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มศักยภาพของสตรีในการทำหน้าที่เป็นกรรมการและเพิ่มสัดส่วนกรรมการหญิงในบริษัทจดทะเบียนตามแผนดำเนินการเพื่อเพิ่มบทบาทสตรีในตลาดทุนไทยแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการในยุคปัจจุบันที่จำเป็นที่ต้องมีมุมมองที่หลากหลาย นำไปสู่การตัดสินใจร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนต่อไป
นายกุลเวช เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้อำนวยการ IOD กล่าวว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา IOD ให้ความสำคัญกับเรื่องความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ของสถาบันว่า “Boardroom Excellence for Sustainable Growth” โดยปัจจัยเรื่องความหลากหลายของคณะกรรมการ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างมุมมองและแนวคิดในคณะกรรมการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คณะกรรมการโดยรวมสามารถทำหน้าที่เป็นสติ คอยเตือนและให้คำแนะนำกับฝ่ายจัดการได้
รวมทั้งสามารถทำหน้าที่ Lead หรือเป็นผู้นำทางความคิดเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน โครงการส่งเสริมสตรีให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นกรรมการนี้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ IOD สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว อีกทั้งยังช่วยเปิดโอกาสให้ตลาดทุนได้สามารถเข้าถึงกลุ่มสตรีที่มีความสามารถ เพื่อที่จะสรรหาเทียบเชิญเป็นกรรมการขององค์กรได้
“ทาง IOD ต้องขอขอบคุณ ก.ล.ต. ที่ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการในครั้งนี้ เพื่อที่จะร่วมผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนไทยมีคณะกรรมการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะนำพาให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน”
ทั้งนี้โครงการ ของ IOD จะเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน – ธันวาคม 2565 โดยกลุ่มเป้าหมายในระยะแรกของโครงการส่งเสริมสตรีฯ จะเป็นสตรีที่เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือเลขานุการบริษัทของบริษัทจดทะเบียนที่ลงนามแสดงเจตจำนงในหลักการว่าด้วยการเสริมสร้างพลังของผู้หญิง (Women’s Empowerment Principles: WEPs) ขององค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) และมีรายชื่ออยู่บนเว็บไซต์แล้ว เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจและการสนับสนุนของบริษัทจดทะเบียนในการขับเคลื่อนการส่งเสริมบทบาทสตรีควบคู่ไปด้วย
อ้างอิง
https://www.bangkokbiznews.com/business
ก.ล.ต. สนับสนุน IOD เดินหน้าโครงการส่งเสริมสตรีให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นกรรมการ ประจำปี 65 สอดรับกับการขับเคลื่อนตามแผนดำเนินการเพื่อเพิ่มบทบาทสตรีในตลาดทุนไทยของ ก.ล.ต. และเพื่อตอบโจทย์นำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน โครงการส่งเสริมสตรีให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นกรรมการ ประจำปี 2565 จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้สตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้ได้รับโอกาสในการเข้าอบรมหลักสูตรพื้นฐานสำหรับกรรมการ Director Certification Program (DCP) ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในการทำหน้าที่กรรมการ โดยผู้ที่ผ่านหลักสูตร DCP จะมีรายชื่อในฐานข้อมูลกรรมการ (Director Pool) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการสรรหากรรมการที่มีคุณภาพและมีทักษะที่เหมาะสม จึงเป็นการเปิดโอกาสแก่สตรีในระดับกรรมการและผู้นำขององค์กรมากขึ้น อีกทั้งยังสอดรับกับแนวทางในระดับสากลที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีความหลากหลาย รวมถึงด้านความหลากหลายทางเพศ (Gender Diversity) สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2565 – 2567 ของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ด้านการยกระดับศักยภาพของตลาดทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Capital Market) ในการสนับสนุนบริษัทจดทะเบียนให้ผนวกปัจจัยธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศเข้าไปในกระบวนการประกอบธุรกิจ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 5 เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า…