อาคม ชี้ “สินทรัพย์ดิจิทัล” สร้างโอกาสการลงทุน-สตาร์ทอัป

รมว.คลังเผยเปิดอนาคตประเทศไทย ชี้โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่เชื่อมโยงดิจิทัล รัฐให้ความสำคัญการเติบโตสินทรัพย์ดิจิทัล “ก.ล.ต.-ธปท.” ดูแลใกล้ชิด สร้างโอกาสทางเลือกการลงทุน-สตาร์ทอัป

วันนี้ (24 มี.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แสดงปาฐกถาพิเศษ “อนาคตประเทศไทยกับสินทรัพย์ดิจิทัล” ในงานสัมมนาสินทรัพย์ดิจิทัล Game Changer เดิมพันเปลี่ยนอนาคต จัดโดยหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติธุรกิจ” โดยระบุว่า ภาครัฐพร้อมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ โดยที่ผ่านมามีคนกล่าวว่าการที่ประเทศไทยเผชิญปัญหาเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเก่า

ขณะที่เศรษฐกิจปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เพิ่มเข้ามา ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังมองว่าเป็นปัญหาชั่วคราว ซึ่งรัฐบาลได้ออก 10 มาตรการ เพื่อลดต้นทุนราคาพลังงาน บรรเทาภาระค่าครองชีพให้ประชาชน ตรงตามเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ

ทั้งนี้ โครงสร้างเศรษฐกิจแบบเก่ายังพึ่งพาการบริโภค โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเป็นหลัก เมื่อสถานการณ์โควิดเข้ามาจึงได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ฉะนั้น โครงสร้างแบบใหม่ การท่องเที่ยวจะต้องพิจารณาการสร้างมูลค่าที่แตกต่างจากเดิม โดยเป็นการเน้นการท่องเที่ยวคุณภาพ แทนการเน้นปริมาณ

ขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่จะเชื่อมโยงโลกดิจิทัล ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากที่โควิดเข้ามา การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตขึ้น โดยปี 2563 จากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่จดทะเบียนประกอบกิจการเพียง 9 ราย ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 14 ราย ขณะที่มูลค่าการซื้อขาย จาก 240 ล้านบาท ในปี 2563-2564 มีการซื้อขายเติบโตกว่า 4,839 ล้านบาท ส่วนมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจาก 9,600 ล้านบาท เป็น 114,000 ล้านบาท และมีผู้ใช้งานจาก 1.7 แสนราย เติบโตเป็น 2 ล้านราย

“นอกจากการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ (ตลท.) ยังมีตลาดใหม่ ทั้งคริปโตเคอร์เรนซีที่มีการซื้อขายผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และโทเคน ซึ่งมีภาคธุรกิจหลายรายเริ่มใช้เป็นการลงทุนในโทเคน เพื่อเป็นทางเลือกในการระดมทุน แต่พัฒนาที่สำคัญส่วนนี้คือเรื่องบล็อกเชนเทคโนโลยี ซึ่งจะไม่ผ่านศูนย์กลาง สามารถระดมทุนโดยตรงไปที่ประชาชนได้ทันที ส่วน Utility token ในแง่การกำกับของภาครัฐคงต้องใช้เวลาสักนิดหนึ่ง แต่ทั้ง 2 เรื่องนั้น เป็นเรื่องที่เราไม่ปฏิเสธ เพราะทางภาครัฐให้ความสำคัญต่อการเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัล”

นายอาคม กล่าวว่า ส่วนการกำกับดูแลนั้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ใช้แนวทางในการกำกับดูแลผ่าน พ.ร.บ.สินทรัพย์ดิจิทัล ปี 2561 ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลในด้านภาคการเงิน โดยทั้ง 2 หน่วยงานดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสิ่งที่จะมาทดแทนค่าตอบแทนนั้นปัจจุบันทั่วโลกยังไม่ยอมรับสกุลเงินดิจิทัล อย่างไรก็ดี ธปท.ได้มีการพัฒนา Central Bank Digital Currency (CBDC) หรือสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง โดยทั่วโลกทำในเรื่องดังกล่าว

“รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องการเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัล แต่การเติบโตต้องระวัง ทั้งนี้ หากถามว่าโอกาส หรือประโยชน์ของสินทรัพย์ดิจิทัลมีอะไรบ้างนั้น แน่นอนว่าโอกาสจากทางเลือกของการลงทุนมีแน่นอน และยังมีสตาร์ทอัปในกลุ่มเทคโนโลยีด้วย”

นายอาคม กล่าวด้วยว่า การกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล กระทรวงมีนโยบายต้องยึดประโยชน์ผู้ลงทุน ต้องคุ้มครองไม่ให้เกิดความเสียหาย ธปท.ดูแลร่วมกัน และ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ.สินทรัพย์ดิจิทัล ให้กำกับดูแลครอบคุมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการดูแลระบบเศรษฐกิจ คุ้มครองผู้ลงทุน ซึ่งฝากถึงผู้ประกอบการในคริปโตเคอร์เรนซี และโทเคน ว่าการให้ข้อมูลลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ ความเสถียรทางระบบที่จะรองรับ หรือระบบซื้อขาย โดยเฉพาะโทเคน ฐานะการเงินต้องมีความมั่นคง

อ้างอิง
https://m.mgronline.com/stockmarket

รมว.คลังเผยเปิดอนาคตประเทศไทย ชี้โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่เชื่อมโยงดิจิทัล รัฐให้ความสำคัญการเติบโตสินทรัพย์ดิจิทัล “ก.ล.ต.-ธปท.” ดูแลใกล้ชิด สร้างโอกาสทางเลือกการลงทุน-สตาร์ทอัป วันนี้ (24 มี.ค.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แสดงปาฐกถาพิเศษ “อนาคตประเทศไทยกับสินทรัพย์ดิจิทัล” ในงานสัมมนาสินทรัพย์ดิจิทัล Game Changer เดิมพันเปลี่ยนอนาคต จัดโดยหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติธุรกิจ” โดยระบุว่า ภาครัฐพร้อมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ โดยที่ผ่านมามีคนกล่าวว่าการที่ประเทศไทยเผชิญปัญหาเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเก่า ขณะที่เศรษฐกิจปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เพิ่มเข้ามา ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังมองว่าเป็นปัญหาชั่วคราว ซึ่งรัฐบาลได้ออก 10 มาตรการ เพื่อลดต้นทุนราคาพลังงาน บรรเทาภาระค่าครองชีพให้ประชาชน ตรงตามเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ โครงสร้างเศรษฐกิจแบบเก่ายังพึ่งพาการบริโภค โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเป็นหลัก เมื่อสถานการณ์โควิดเข้ามาจึงได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ฉะนั้น โครงสร้างแบบใหม่ การท่องเที่ยวจะต้องพิจารณาการสร้างมูลค่าที่แตกต่างจากเดิม โดยเป็นการเน้นการท่องเที่ยวคุณภาพ แทนการเน้นปริมาณ ขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่จะเชื่อมโยงโลกดิจิทัล ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากที่โควิดเข้ามา การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเติบโตขึ้น โดยปี 2563 จากศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่จดทะเบียนประกอบกิจการเพียง 9 ราย ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 14 ราย ขณะที่มูลค่าการซื้อขาย…