ธปท.คาด Q2 เงินเฟ้อพุ่ง 5% เตรียมร่อนจดหมายเปิดผนึกชี้แจงคลัง

ธปท.เตรียมทำจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงการคลังชี้แจงเงินเฟ้อหลุดกรอบเป้าหมาย 1-3% พร้อมปรับกรอบคาดการณ์เงินปีนี้อยู่ที่ 4.9% และ 1.7% ปี’66 เหตุสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาพลังงาน-อาหารเร่งตัว คาดไตรมาส 2-3 ปีนี้เห็นเงินเฟ้อแตะ 5%

วันที่ 30 มีนาคม 2565 นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า

ธปท.อยู่ระหว่างการทำหนังสือเปิดผนึกถึงกระทรวงการคลังเพื่อชี้แจงกรณีอัตราเงินเฟ้อเกินกรอบเป้าหมาย 1-3% ซึ่งเป็นกรอบเป้าหมายระยะปานกลางที่ ธปท.มีการเซ็นข้อตกลง (MOU) ร่วมกันกับกระทรวงการคลัง

 

คาดเงินเฟ้อ Q2/65 พุ่งแตะ 5%
โดย ธปท.คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี’65 จะอยู่ที่ 4.9% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปี’66 อยู่ที่ 1.7% ส่วนราคาน้ำมันอยู่ที่ 90 ดอลลาร์บาร์เรล โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่า 5% ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ในปี’65 จากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก

โดยอัตราเงินเฟ้อจะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมาย 1-3% ในปี’66 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาการราคาพลังงานและอาหารจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นต่อในช่วง 1 ปี นอกจากจะมีช็อกเกิดขึ้น ดังนั้น เงินเฟ้อในระยะสั้นจะหลุดกรอบก็เป็นความรับผิดชอบของ ธปท.ในการดูแลที่จะทำให้อยู่ในกรอบปานกลางได้

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญ เงินเฟ้อระยะข้างหน้าจะเป็นอย่างไร โดยขจัดปัจจัยระยะสั้นราคาขึ้นลงออกไป โดยจะมีเครื่องชี้วัดแนวโน้มเงินเฟ้อต่ำสุดและสูงสุด ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2551-2552 ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ราคาน้ำมันและอาหารสูง จะพบว่าปัจจุบันมีลักษณะคล้ายกัน คือ

เงินเฟ้อระยะสั้นปรับขึ้นไปอยู่ที่ราว 10% ตามซัพพลายช็อก แต่ในระยะปานกลางและยาวเงินเฟ้อไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาก โดยสะท้อนว่าเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังคงยึดเหนี่ยวกรอบเงินเฟ้อคาดการณ์ได้ค่อนข้างดี ส่วนการปรับราคาสินค้าในวงกว้างสัญญาณตอนนี้ยังไม่น่าห่วง อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางต่อไป

“ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเรามจะมีการทบทวนตัวเลขร่วมกันทุกปี ซึ่งตามกระบวนการปกติ หากเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าเกินกรอบ เราจะมีการเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงการคลัง โดยไม่ว่าจะเป็นการหลุดกรอบล่างหรือกรอบบนก็ตาม

ทั้งนี้ เราเชื่อว่าธนาคารกลางหลายประเทศทุกประเทศเผชิญสถานการณ์เหมือนเรา คือ เงินเฟ้อปีนี้จะเพิ่มขึ้นสูง และปีหน้าจะลดลงมากกว่าครึ่ง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากฐานที่สูง และราคาพลังงานและอาหารเร่งขึ้นในปีนี้ แต่จะขึ้นต่อในปี 66 คงจะยาก”

ยันไทยไม่เข้าข่าย Stagflation
ดังนั้น ประเทศไทย ตอนนี้ไม่ได้เข้าข่ายใน “Stagflation” เพราะจะเห็นว่าปีนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยยังขยายตัวในระดับ 3.2% และในปี 2566 จีดีพีขยายตัวได้ 4.4%

ซึ่งเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นและเร็วกว่าระดับศักยภาพที่ 3% จึงไม่เหมือนภาวะ “Stagnation” แม้ว่าแรงกระแทกของช็อกจากราคาพลังงานปรับขึ้น อาจจะทำให้เศรษฐกิจสะดุดเล็กน้อย เพราะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

โดยคำว่า “Stagflation” ปัจจุบันถูกหยิบยกมาใช้ค่อนข้างบ่อย โดยนิยามมาจากคำว่า “Stagnation” ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือขยายตัวช้า รวมกับคำว่า “Inflation” เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานและไม่ใช่ปัจจัยชั่วคราว โดยรวมทำให้คำว่า “Stagflation” คือเศรษฐกิจตกต่ำ ขยายตัวช้าเป็นเวลนาน ขณะที่เงินเฟ้อก็อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน

และถ้าเทียบกับสหรัฐ ก็อาจไม่ใช่ภาวะ “Stagflation” เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตร้อนแรง และงินเฟ้อสูง จึงต้องประคองให้เศรษฐกิจลงจอดแบบราบรื่น (Soft Landing) เช่นเดียวกับไทย จะเห็นว่าเศรษฐกิจกำลังไต่ขึ้นหรือทะยานเหินฟ้าขึ้น

ซึ่งเป็นการทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง จึงไม่ได้เข้าข่ายการเกิด “Stagflation” โดย ธปท.ยังคงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ภายในปลายปีนี้ หรือต้นปี 2566 ซึ่งตอกย้ำเศรษฐกิจไทยโดยรวมการฟื้นตัวยังคงอยู่

หั่นจีดีพีปี’65 เหลือ 3.2%
แม้ว่า ธปท.จะปรับประมาณการจีดีพีในปีนี้ลดลงเหลือ 3.2% และในปี’66 อยู่ที่ 4.4% จากรอบประมาณการเดือนธ.ค.64 ที่คาดการณ์อยู่ที่ 3.4% และ 4.7% ตามลำดับ ถือเป็นการปรับลดลงไม่มาก และเศรษฐกิจยังเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่อง

แต่มีความเสี่ยงด้านต่ำในเรื่องของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจคู่ค้า และราคาต้นทุนปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการบริโภคในประเทศ แต่จะไม่กระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยรวมยังคงฟื้นตัวจากนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะกลับมาได้ในปลายปีและปีหน้า

“จีดีพีในไตรมาสที่ 4/64 สูงกว่าคาดเป็นผลบวก 0.4% ให้ปี’65 แต่ปัจจัยลบมาจากโอมิครอนที่ยืดเยื้อ แต่ไม่มีผลต่อสาธารณสุข จึงกระทบเศรษฐกิจไม่มาก โดยปัจจัยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี’65 จะมาจากแรงขับเคลื่อนภายในประเทศเป็นหลัก และในปี’66 จะเพิ่มแรงขับเคลื่อนจากต่างประเทศผ่านนักท่องเที่ยวจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 19 ล้านคน

ทำให้ภาพมองเศรษฐกิจไทยคงไม่ได้แตกต่างจากสำนักอื่นที่คาดการณ์ เพราะเรื่องของสงครามรัสเซียสร้างช็อกใหญ่ด้านราคาพลังงาน ทำให้ทุกคนต้องออกมาทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจ แต่ประเทศไทยไม่กระทบเท่าไร เพราะมีสัดส่วนการค้ากับรัสเซียน้อย ภาคการเงินเรายังเข้มแข็ง แต่ราคาพลังงานที่เร่งสูงขึ้น อาจทำให้เราสะดุดบ้างแต่ไม่มาก”

ตรึงดอกเบี้ย 0.50% ชี้ขึ้นอาร์พียังไม่ใช่ทางออก
นายปิติกล่าวว่า แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น โดยตัวเลขเดือน ก.พ.อยู่ที่ 5.2% สูงกว่าคาดมาจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่บานปลาย และคาดว่าในไตรมาสที่ 2 และ 3 เงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกจากฐานของราคา และแรงกดดันที่มีอยู่

แต่หากดูผลระยะปานกลางภายใต้นโยบายการเงินที่จะส่งผลในอีก 1 ปี สามารถมองทะลุผ่านปัจจัยราคาที่ผันผวนระยะสั้นได้ เนื่องจากผลนโยบายการเงินจะมีอีก 1 ปี ซึ่งแนวโน้มเศรษฐกิจอยู่ในช่วงฟื้นตัว หากจะฉุดเศรษฐกิจลงมาแรง ๆ เพื่อดึงเงินเฟ้อลงมาจะไม่คุ้ม และโดยรวมคาดว่าเงินเฟ้อจะปรับลดลงในปี’66 ทำให้สามารถคงอัตราดอกเบี้ยได้ 0.50% ต่อปี

“นโยบายดอกเบี้ยถือเป็นต้นทุนการเงินของทั้งระบบ เพราะเริ่มต้นดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งเป็นผลตอบแทนเงินฝาก หุ้นกู้ พันธบัตร ซึ่งดอกเบี้ยขั้นต้นและทอดไปสู่ต้นทุนการเงินทั้งระบบ เช่น การกู้ยืม ซึ่งเป็นเครื่องมือที่กระทบวงกว้าง จึงต้องชั่งน้ำหนักให้ดี แต่ถามว่าหากเราขึ้นดอกเบี้ยแรงพอ เพื่อลดเงินเฟ้อได้ แต่ตอนนี้เรายังไม่อยากทำนโยบายหรือเป็นทางออกกับปัจจัยที่เกิดขึ้นชั่วคราว”

ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณของกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย (ฟันด์โฟลว์) ที่มีลักษณะหวือหวา แม้ว่าตลาดจะคาดการณ์เฟดจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 5-6 ครั้ง โดยดอกเบี้ยไปอยู่ที่กว่า 2% แต่หากดูผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (Bond Yield) อายุ 2 ปี ยังอยู่ที่ประมาณ 2% ส่วนของไทยอยู่ที่ 0.7-0.8%

โดยมองไปข้างหน้าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะยังไม่กระทบฟันด์โฟลว์ไหลออก และอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนหนึ่งมาจากนักลงทุนให้ความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งเศรษฐกิจไทยกำลังทะยานขึ้น โดยที่สหรัฐมีการคาดการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวลง

อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance

ธปท.เตรียมทำจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงการคลังชี้แจงเงินเฟ้อหลุดกรอบเป้าหมาย 1-3% พร้อมปรับกรอบคาดการณ์เงินปีนี้อยู่ที่ 4.9% และ 1.7% ปี’66 เหตุสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาพลังงาน-อาหารเร่งตัว คาดไตรมาส 2-3 ปีนี้เห็นเงินเฟ้อแตะ 5% วันที่ 30 มีนาคม 2565 นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน และเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ธปท.อยู่ระหว่างการทำหนังสือเปิดผนึกถึงกระทรวงการคลังเพื่อชี้แจงกรณีอัตราเงินเฟ้อเกินกรอบเป้าหมาย 1-3% ซึ่งเป็นกรอบเป้าหมายระยะปานกลางที่ ธปท.มีการเซ็นข้อตกลง (MOU) ร่วมกันกับกระทรวงการคลัง   คาดเงินเฟ้อ Q2/65 พุ่งแตะ 5% โดย ธปท.คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี’65 จะอยู่ที่ 4.9% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และปี’66 อยู่ที่ 1.7% ส่วนราคาน้ำมันอยู่ที่ 90 ดอลลาร์บาร์เรล โดยอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงกว่า 5% ในไตรมาสที่ 2…