“อาคม”เคลียร์ชัด ทำไมรัฐต้องเก็บภาษีหุ้น-ภาษีคริปโต

“อาคม” ตอบชัดรัฐเก็บภาษีขายหุ้น-ภาษีคริปโต เป็นไปตามกฎหมาย เผยกรมสรรพากร เร่งหาข้อสรุปแนวทางเก็บภาษี ยันเพื่อสร้างความเป็นธรรม- คนมีรายได้มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ

จากกรณีที่มีผู้คัดค้านการเก็บภาษีขายหุ้นและภาษีทรัพย์สินดิจิทัล หรือคริปโต ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในส่วนของเรื่องภาษีคริปโต ขณะนี้กรมสรรพากรกำลังหารือกับสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ซึ่งการเก็บภาษีซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้คริปโต ในปัจจุบันมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว​ และในปีภาษี 2564 ก็มีคนที่ยื่นเสียภาษีตัวนี้ ในปี 2565 จะมีการกำหนดในรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้น​ เพื่อให้การยื่นแบบง่ายขึ้น

 

ในปัจจุบันประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากร ให้อำนาจแก่กรมสรรพากร จัดเก็บภาษีรายได้ตัวนี้อยู่แล้ว โดยกฎหมายมีมาตั้งแต่ปี 2561 ( พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ) ส่วนภาษีจากการขายหุ้น อยู่ในกฎหมายของกรมสรรพากร แต่ได้ออกกฎหมายยกเว้นให้มา 30 ปี ในหลักการของการจัดเก็บภาษีนั้น ต้องการสร้างความเป็นธรรม โดยคนที่ใช้ทรัพยากร หรือคนที่มีรายได้ ก็ควรมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐ แต่การออกข้อกำหนดให้ยกเว้นภาษีบางเรื่อง ก็เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลดต้นทุนในภาคส่วนนั้นๆเป็นการชั่วคราว อย่างในกรณีการซื้อขายหุ้นที่ได้รับการยกเว้นมา 30 ปี อย่างไรก็ตามในปัจจุบันรายได้ของนายหน้าซื้อขาย (โบรกเกอร์) ก็ต้องเสียภาษีอยู่แล้วด้วย ซึ่งขอยืนยันว่า การจัดเก็บภาษีจากการขายคริปโต และภาษีจากการขายหุ้น นั้นเป็นไปเพื่อขยายฐานภาษี และสร้างเม็ดเงินมาพัฒนาประเทศ

“เราไม่ได้ขยายฐานภาษีมานาน แม้ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวมากกว่าในอดีต แต่รายได้จากภาษีต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ หรือ จีดีพี ไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเรามีข้อยกเว้นทางภาษีเป็นจำนวนมาก เพื่อสนับสนุนในบางภาคส่วน แต่เมื่อการสนับสนุนมาระยะหนึ่งและถึงเวลาที่สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง การยกเว้นก็ควรลดลง” นายอาคม กล่าวและว่า

 

การเก็บภาษีคริปโตนั้น ไม่ได้ต้องการควบคุมการขยายตัวของคริปโต แต่เนื่องจากภาษีตัวนี้ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายในปัจจุบันอยู่แล้ว ส่วนการเก็บภาษีจากการขายหุ้นก็เช่นกัน มีการกำหนดไว้ในกฎหมายเพียงแต่ยกเว้นให้เท่านั้น สำหรับการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นนั้น ในต่างประเทศมีการเก็บจากกำไรจากการลงทุน (Capital gain) หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่นเดียวกันกับภาษีคริปโตที่มีการเก็บภาษีจาก capital gain หรือจากรายการธุรกรรม (Transaction) ซึ่งกระทรวงคลังกำลังพิจารณาในเรื่องแนวทางการจัดเก็บภาษีทั้งสองตัวนี้ว่าจะเลือกใช้แนวทางใด

รมว.คลัง กล่าวว่า คลังอยู่ระหว่างหาข้อสรุปการจัดเก็บภาษีหุ้น-ภาษีคริปโต ว่าจะใช้แนวทางใด ทั้งในรูปแบบเก็บภาษีจากธุรรมการขายต่อครั้ง หรือจะจัดเก็บจาก Capital gain ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ จะเลือกเก็บวิธีใดวิธีหนึ่ง แต่หากจัดเก็บจาก Capital gain จะกระทบนักลงทุนรายใหญ่เพราะมีการซื้อขายสูง

 

“การจัดเก็บจาก capital gain จะมีความยุ่งยากในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล ที่ต้องมีความรวดเร็ว เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เก็บจาก capital gain ซึ่งระบบสามารถเรียกใช้ข้อมูลการซื้อขายแบบทุกนาทีได้ แต่หากเก็บจาก capital gain จะกระทบนักลงทุนรายใหญ่เพราะมีปริมาณการซื้อขายสูง ” นายอาคม กล่าวทิ้งท้าย

“อาคม” ตอบชัดรัฐเก็บภาษีขายหุ้น-ภาษีคริปโต เป็นไปตามกฎหมาย เผยกรมสรรพากร เร่งหาข้อสรุปแนวทางเก็บภาษี ยันเพื่อสร้างความเป็นธรรม- คนมีรายได้มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ จากกรณีที่มีผู้คัดค้านการเก็บภาษีขายหุ้นและภาษีทรัพย์สินดิจิทัล หรือคริปโต ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในส่วนของเรื่องภาษีคริปโต ขณะนี้กรมสรรพากรกำลังหารือกับสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย ซึ่งการเก็บภาษีซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้คริปโต ในปัจจุบันมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว​ และในปีภาษี 2564 ก็มีคนที่ยื่นเสียภาษีตัวนี้ ในปี 2565 จะมีการกำหนดในรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้น​ เพื่อให้การยื่นแบบง่ายขึ้น   ในปัจจุบันประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากร ให้อำนาจแก่กรมสรรพากร จัดเก็บภาษีรายได้ตัวนี้อยู่แล้ว โดยกฎหมายมีมาตั้งแต่ปี 2561 ( พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ) ส่วนภาษีจากการขายหุ้น อยู่ในกฎหมายของกรมสรรพากร แต่ได้ออกกฎหมายยกเว้นให้มา 30 ปี ในหลักการของการจัดเก็บภาษีนั้น ต้องการสร้างความเป็นธรรม โดยคนที่ใช้ทรัพยากร หรือคนที่มีรายได้ ก็ควรมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐ แต่การออกข้อกำหนดให้ยกเว้นภาษีบางเรื่อง ก็เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลดต้นทุนในภาคส่วนนั้นๆเป็นการชั่วคราว อย่างในกรณีการซื้อขายหุ้นที่ได้รับการยกเว้นมา 30 ปี อย่างไรก็ตามในปัจจุบันรายได้ของนายหน้าซื้อขาย (โบรกเกอร์) ก็ต้องเสียภาษีอยู่แล้วด้วย ซึ่งขอยืนยันว่า…