EIC SCB มองแนวโน้มหนี้ครัวเรือนยังเพิ่ม แนะเสริมทักษะแรงงานแก้ปัญหาระยะยาว

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC SCB) ประเมินจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 3 ปี 2021 ที่ระดับ 14.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ 4.2%YOY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ระดับ 89.3% ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง โดยการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนจากระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ชะลอลงในทุกหมวดสินเชื่อสำคัญ อย่างไรก็ดี สินเชื่อส่วนบุคคลยังคงขยายตัวในระดับสูงตามความต้องการสภาพคล่องเพื่อชดเชยรายได้ซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ที่ลดลงที่ยังมีมาก

EIC มองว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนมีโอกาสกลับมาเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะอยู่ในช่วง 89.5%-90.5% ต่อ GDP ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 นี้ ก่อนที่จะทยอยปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้เป็นต้นไป หลังการแพร่ระบาดของ Omicron เบาบางลง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว

และในระยะต่อไปที่ครัวเรือนไทยมีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงของการซ่อมแซมงบดุล (deleverage) ยังถือว่าเป็นช่วงที่มีความเปราะบางสูง ดังนั้น จึงต้องอาศัยมาตรการหลายด้านประกอบกันเพื่อให้สถานะทางการเงินของภาคครัวเรือนฟื้นตัวได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้เนื่องจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 ยังไม่หายไป อันจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งสำคัญต่อรายได้ ประกอบกับภาคครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยยังมีความท้าทายในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในช่วงที่ความต้องการสภาพคล่องยังมีอยู่มาก นโยบายและมาตรการต่างๆ ทั้งมาตรการเยียวยาด้านรายได้โดยเฉพาะสำหรับครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง การสนับสนุนการจ้างงาน การปรับ-เพิ่มทักษะแรงงานเพื่อเพิ่มความสามารถในการหารายได้ของภาคครัวเรือน การปรับโครงสร้างหนี้ให้ภาระการผ่อนชำระสอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงและฟื้นช้า ไปจนถึงการเสริมสภาพคล่องแก่ภาคครัวเรือนกลุ่มเปราะบางเพื่อลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นปัญหาที่ก่อตัวขึ้นมาแล้วและอาจทวีความรุนแรงขึ้นหากไม่มีความช่วยเหลือที่ตรงจุด โดย EIC มองว่ากลุ่มมาตรการเหล่านี้ยังมีความจำเป็นอยู่มาก โดยจะต้องมีระยะเวลาการช่วยเหลือที่ยาวนานเพียงพอ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า และการปรับตัวของภาคครัวเรือนทั้งการหารายได้เพิ่มเติม และการซ่อมแซมงบดุลก็จำเป็นต้องใช้เวลาเช่นกัน

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC SCB) ประเมินจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศตัวเลขหนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 3 ปี 2021 ที่ระดับ 14.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ 4.2%YOY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ระดับ 89.3% ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง โดยการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนจากระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ชะลอลงในทุกหมวดสินเชื่อสำคัญ อย่างไรก็ดี สินเชื่อส่วนบุคคลยังคงขยายตัวในระดับสูงตามความต้องการสภาพคล่องเพื่อชดเชยรายได้ซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ที่ลดลงที่ยังมีมาก EIC มองว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนมีโอกาสกลับมาเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะอยู่ในช่วง 89.5%-90.5% ต่อ GDP ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 นี้ ก่อนที่จะทยอยปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้เป็นต้นไป หลังการแพร่ระบาดของ Omicron เบาบางลง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว และในระยะต่อไปที่ครัวเรือนไทยมีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงของการซ่อมแซมงบดุล (deleverage) ยังถือว่าเป็นช่วงที่มีความเปราะบางสูง ดังนั้น จึงต้องอาศัยมาตรการหลายด้านประกอบกันเพื่อให้สถานะทางการเงินของภาคครัวเรือนฟื้นตัวได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้เนื่องจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 ยังไม่หายไป อันจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งสำคัญต่อรายได้ ประกอบกับภาคครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยยังมีความท้าทายในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในช่วงที่ความต้องการสภาพคล่องยังมีอยู่มาก นโยบายและมาตรการต่างๆ…